เลือกประเทศ / ภูมิภาคของคุณ

Noh Jihee เมษายน 23, 2563

การป้องกันการบาดเฉือนในสภาพแวดล้อมแบบปลอดเชื้อ

โดยทั่วไป เครื่องแต่งกายสำหรับห้องปลอดเชื้อและสภาพแวดล้อมแบบปลอดเชื้อได้รับการออกแบบมาเพื่อลดการปนเปื้อนอนุภาคของสภาพแวดล้อมภายนอกให้เหลือน้อยที่สุดเท่านั้น ดังนั้น บุคลากรในห้องปลอดเชื้อที่ทำงานกับอุปกรณ์ที่มีคมหรือเครื่องแก้วจึงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะได้รับการบาดเจ็บเนื่องจากการขาดการปกป้องทางกายภาพที่ได้จากถุงมือสำหรับห้องปลอดเชื้อแบบมาตรฐาน วิศวกรและผู้ปฏิบัติงานที่ซ่อมบำรุงเครื่องมือในห้องปลอดเชื้อก็ต้องสวมใส่เครื่องแต่งกายที่ได้รับการอนุมัติสำหรับห้องปลอดเชื้อเช่นเดียวกัน ซึ่งสามารถทำให้บุคคลเหล่านี้ไม่ได้รับการปกป้องมือจากอันตรายของการบาดเฉือนอย่างเหมาะสม ในบทความนี้เรากล่าวถึงอันตรายของการบาดเฉือนในห้องปลอดเชื้อและสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุม และพิจารณาว่าอันตรายเหล่านี้สามารถลดลงได้อย่างไรด้วยซับในทนการบาดเฉือนที่ปลอดเชื้อ

ห้องปลอดเชื้อมีการทำงานคือรักษาระดับของอนุภาคให้เหลือน้อยที่สุด1

บุคลากรที่ทำงานภายในห้องปลอดเชื้อแต่ละคนแสดงถึงแหล่งของการปนเปื้อนอนุภาค2ที่มีนัยสำคัญ จึงมีการพัฒนาเสื้อผ้าเฉพาะทางสำหรับห้องปลอดเชื้อขึ้นเพื่อลดผลเหล่านี้ให้เหลือน้อยที่สุด: เครื่องแต่งกายสำหรับห้องปลอดเชื้อโดยปกติรวมถึงชุดคลุมทั้งตัวพร้อมหมวกคลุม ถุงหุ้มรองเท้าบู้ท และถุงมือชั้นในและชั้นนอก เครื่องแต่งกายเหล่านี้มีการนำมาใช้เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของห้องปลอดเชื้อในระหว่างการปฏิบัติงานปกติ ดังนั้นจึงได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงคุณสมบัติต่าง ๆ เช่นการก่ออนุภาค การกรองอนุภาค และการต้านทานการเสื่อมสภาพโดยเฉพาะ3

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อกำหนดที่เข้มงวดเหล่านี้ โดยทั่วไปเสื้อผ้าและถุงมือสำหรับห้องปลอดเชื้อจึงให้การป้องกันจากการบาดเฉือนเพียงเล็กน้อยสำหรับบุคลากรที่จัดการกับเครื่องแก้วและเครื่องมือที่มีคมอื่น ๆ ที่สามารถเจาะผ่านวัสดุที่บางได้

อันตรายของการบาดเฉือนในห้องปลอดเชื้อ

ในขณะที่การปฏิบัติตามขั้นตอนที่ดีที่สุดอย่างระมัดระวังจะสามารถลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บในห้องปลอดเชื้อได้ (ตัวอย่างเช่น การใส่ฝาลงในหลอดแก้วทดลองอย่างปลอดภัย) แต่ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะกำจัดความเสี่ยงนี้ไปได้ทั้งหมด การสำรวจระหว่างประเทศเกี่ยวกับทัศนคติและแนวทางปฏิบัติในที่ทำงานของนักวิจัยครั้งแรกซึ่งดำเนินการในปี 2013 แสดงให้เห็นว่าผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการคาดการณ์ความปลอดภัยในที่ทำงานไว้สูงเกินไปเป็นประจำ: ผู้ตอบแบบสำรวจ 86% ระบุว่าห้องปฏิบัติการของตนปลอดภัยที่จะทำงาน แต่กระนั้นก็มีเกือบครึ่งที่เคยได้รับบาดเจ็บในห้องปฏิบัติการ4 การบาดเจ็บที่พบได้บ่อยที่สุดคือแผลขอบเรียบ แผลฉีกขาด และเข็มทิ่มตำ

ตัวอย่างเช่น ในสาขาการผลิตทางเภสัชกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ บุคลากรในห้องปลอดเชื้อจำเป็นต้องใส่และถอดอุปกรณ์ในกระบวนการ ทำความสะอาดเครื่องแก้วและของมีคม และดำเนินการเตรียมห้องปลอดเชื้อเป็นประจำ งานทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดอันตรายของการบาดเฉือน ไม่ใช่แค่เข็มและอุปกรณ์ที่มีขอบคมอยู่แล้วเท่านั้นที่เป็นความเสี่ยง อุปกรณ์ใดก็ตามที่แตกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องแก้ว ก็มีโอกาสก่อให้เกิดการบาดเจ็บเช่นกัน

ในทำนองเดียวกัน ในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ การประกอบเครื่องมือที่มีส่วนประกอบที่มีคมก็ไม่ปลอดภัยเมื่อสวมใส่เพียงถุงมือสำหรับห้องปลอดเชื้อ ความเสี่ยงเหล่านี้ไม่ได้เห็นชัดเสมอไปเช่นกัน: ในขณะที่เครื่องมือและอุปกรณ์เช่นมีดผ่าตัดและเครื่องมือขูดทางการแพทย์จะมีความคมตามการออกแบบ แต่ส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นสายขนาดเล็กและขอบแก้วที่คมก็เป็นความเสี่ยงแอบแฝงของการบาดเจ็บต่อผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการเช่นกัน

ในอุตสาหกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์มีการดำเนินขั้นตอนที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บมากมายในสภาพแวดล้อมของห้องปลอดเชื้อ ซึ่งรวมถึงการทำความสะอาดแสตมป์การผลิต การผ่านกระบวนการทางเคมีของการกัดแผ่นเวเฟอร์ และการบำรุงรักษาและการทำความสะอาดอุปกรณ์ FAB งานการผลิตแทบทุกงานในอุตสาหกรรมนี้เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีอันตรายเพื่อทำความสะอาด การถอด หรือการขจัดคราบไขมันบนชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ในสภาพแวดล้อมเช่นเหล่านี้ การบาดเฉือนมีความเสี่ยงของการปนเปื้อนสารอันตราย เช่น กรด ด่าง โพลีคลอริเนตเตทไบฟีนิล (PCB) และตัวทำละลายมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงกับทั้งร่างกาย5

การขาดการป้องกันต่อการบาดเฉือนยังเป็นปัญหาสำหรับวิศวกรที่รับผิดชอบการทำความสะอาดและบำรุงรักษาอุปกรณ์ภายในห้องปลอดเชื้อเช่นกัน เนื่องจากเครื่องจักรที่ใช้ในห้องปลอดเชื้อมักได้รับการก่อสร้างภายในห้องปลอดเชื้อและไม่ได้รับการออกแบบมาเพื่อการเคลื่อนย้าย การบำรุงรักษาเครื่องจักรเหล่านี้จึงต้องดำเนินการโดยบุคลากรที่สวมใส่เสื้อผ้าที่เข้ากันได้กับห้องปลอดเชื้อ ถุงมือป้องกันทั่วไปไม่ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมของห้องปลอดเชื้อ และถุงมือสำหรับห้องปลอดเชื้อตามมาตรฐานก็ไม่ได้ให้การป้องกันต่อการบาดเฉือนอย่างเพียงพอเมื่อทำงานกับเครื่องจักร

ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เสื้อผ้าที่สวมใส่ภายในห้องปลอดเชื้อต้องสามารถให้การป้องกันที่เพียงพอกับบุคลากรที่ทำงานโดยมีความเสี่ยงของการบาดเฉือน และในขณะเดียวกันก็เป็นไปตามระดับความสะอาดที่กำหนดด้วยเช่นกัน

ซับในถุงมือต้านทานการบาดเฉือนสำหรับสภาพแวดล้อมของห้องปลอดเชื้อ

เพื่อปกป้องบุคลากรในห้องปลอดเชื้อจากอันตรายของการบาดเฉือน Ansell จึงพัฒนาซับในถุงมือ BioCleanTM S-BCRL ขึ้น ซับในนี้เป็นซับในต้านทานการบาดเฉือนที่ปราศจากเชื้อ ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อการสวมใส่ระหว่างถุงมือสำหรับห้องปลอดเชื้อแบบมาตรฐานสองคู่6 ซับในนี้ถักทอด้วยด้าย Dyneema® Diamond ซึ่งให้การป้องกันต่อการบาดเฉือนตาม EN 338 และ ANSI A2 Cut สำหรับนักวิจัย/ผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงของการบาดเฉือนระดับปานกลาง ในขณะเดียวกันก็เป็นไปตามระเบียบด้านความปราศจากเชื้อในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมด้วย

ซับในถุงมือนี้ทั้งไม่มีแป้งและไม่มี Latex เพื่อป้องกันการแพ้ Latex และโอกาสเกิดการปนเปื้อนที่เกิดขึ้นจากผงแป้ง ซับในนี้มีข้อได้เปรียบที่มีนัยสำคัญเหนือซับในต้านทานการบาดเฉือนอื่น ๆ ที่มักไม่เป็นไปตามมาตรฐานห้องปลอดเชื้อและได้รับการบรรจุในกระดาษซึ่งมีอนุภาคสูงโดยตัวมันเอง ถุงมือ BioCleanTM S-BCRL ได้รับการบรรจุแยกในซองพอลิเอทิลีน EasyTear เพื่อความสะดวกและความสะอาด

ด้วยการผสมผสานผ้าสแปนเด็กซ์เข้ากับพอลิเอทิลีนที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงเป็นพิเศษ ถุงมือ BioCleanTM S-BCRL จึงมีน้ำหนักเบาและสวมใส่สบาย ในขณะเดียวกันก็ให้การต้านทานต่อการบาดเฉือนเดียวกันกับถุงมือประเภทอื่นที่หนากว่าและสวมใส่สบายน้อยกว่า

หากคุณทำงานในห้องปลอดเชื้อที่ปราศจากเชื้อหรือสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมและเผชิญกับความเสี่ยงของการเกิดแผลขอบเรียบและแผลฉีกขาดอยู่เสมอ ขอให้พิจารณาซับในต้านทานการบาดเฉือน BioClean

เอกสารอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม

     Ohring, M. & Kasprzak, L. Reliability and failure of electronic materials and devices. Reliability and Failure of Electronic Materials and Devices (Elsevier Inc., 2014). doi:10.1142/9789812702876_0011

     Hu, S. C. & Shiue, A. Validation and application of the personnel factor for the garment used in cleanrooms. Data Br. 6, 750757 (2016).

     Reinmüller, B. & Ljungqvist, B. Modern cleanroom clothing systems: People as a contamination source. PDA J. Pharm. Sci. Technol. 57, 114125 (2003).

     Van Noorden, R. Safety survey reveals lab risks. Nature 493, 910 (2013).

     Safety & health guide for the microelectronics industry - Google Books. Available at: https://books.google.fr/books?id=PpwYRCHgG6EC&pg=PA4&lpg=PA4&dq=cut+hazard+microelectronics&source=bl&ots=l2L7xtiExP&sig=ACfU3U1rhCkU-q2QEzhbg6NNS1T2mrRcag&hl=en&sa=X&ved=2ahUKEwjC-4_R96PoAhUqz4UKHZvPARkQ6AEwAXoECA0QAQ#v=onepage&q=cut hazard microelectronics&f=false. (Accessed: 18th March 2020)

     BioClean Cut Resistant Liner S-BCRL. Available at: https://www.ansell.com/gb/en/products/bioclean-cut-resistant-liner-s-bcrl. (Accessed: 18th March 2020)