เลือกประเทศ / ภูมิภาคของคุณ

การต่อสู้กับอาการแพ้ยางธรรมชาติ

การแพ้ยางธรรมชาติยังคงเป็นความเสี่ยงข้อหนึ่งในโรงพยาบาล แม้อุบัติการณ์การแพ้ถุงมือของบุคลากรจะลดน้อยลงตั้งแต่มีการนำถุงมือผ่าตัดชนิดไร้แป้งมาใช้ก็ตาม เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอาการแพ้ยางธรรมชาติประเภท 1 ที่เป็นผลมาจากการใช้ถุงมือยางธรรมชาตินั้นหลีกเลี่ยงได้สำหรับทั้งบุคลากรด้านการดูแลสุขภาพและผู้ป่วย โดยการหันไปใช้ถุงมือผ่าตัดยางสังเคราะห์แทน การเปลี่ยนแปลงนี้ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุไม่พึงประสงค์จากการใช้ถุงมือยางธรรมชาติ เช่น อาการแอนาฟิแล็กซิส และการแพ้โปรตีนในยางธรรมชาติ

อุบัติการณ์จากการแพ้ยางธรรมชาติในกลุ่มบุคลากรด้านการดูแลสุขภาพมีอัตราแตกต่างกันไประหว่างร้อยละ 10 - 17 (1,2) อัตราดังกล่าวนี้เพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดบางกลุ่ม เช่น กุมารแพทย์ ในขณะที่เด็ก ๆ ร้อยละ 50 - 55 (1,3,4) ที่รับการผ่าตัดหลายครั้ง หรือเป็นโรคสไปนาไบฟิดา ก็มีความเสี่ยงที่จะแพ้ยางธรรมชาติ

บุคลากรที่แพ้มีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะพัฒนาเป็นโรคภูมิแพ้ หากยังคงใช้หรือสัมผัสกับยางธรรมชาติต่อไป จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจว่า ผู้ที่แพ้บางรายอาจไม่แสดงอาการทางคลินิก หรือไม่รู้ตัวว่าตนเองอยู่ในระยะที่ไวต่อสิ่งกระตุ้น และมีความเสี่ยงที่จะพัฒนากลายเป็นอาการภูมิแพ้ทางคลินิกขึ้นมาได้

ถุงมือยางสังเคราะห์รุ่นใหม่ของ Ansell มีตัวเลือกต่าง ๆ เช่นเดียวกับถุงมือยางธรรมชาติ ได้แก่ ถุงมือศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ ถุงมือศัลยกรรมแบบไมโคร และถุงมือมอยเจอร์ไรเซอร์ นอกจากนี้ ยังผลิตจากวัสดุนีโอพรีนและโพลิไอโซพรีน (PI) ในแบบต่าง ๆ ซึ่งโดดเด่นในการป้องกันอาการแพ้ โดยยังคงคุณสมบัติด้านประสิทธิภาพแบบเดิม หรือดีกว่าเดิมในบางกรณี และให้ความสบายที่บุคลากรที่ผ่าตัดต้องการ


เปลี่ยนสู่สิ่งที่ดีกว่า

แม้ว่ามีหลักฐานทางคลินิกสนับสนุนคุณประโยชน์ของสภาพแวดล้อมปลอดยางธรรมชาติที่มีต่อการป้องกันเบื้องต้น แต่โรงพยาบาลบางแห่งยังคงเลือกจัดหาถุงมือผ่าตัดยางสังเคราะห์แก่บุคลากรและผู้ป่วยที่ทราบว่าแพ้ยางธรรมชาติเท่านั้น แทนที่จะเปลี่ยนหมดทั้งโรงพยาบาล แนวทางการเลือกเช่นนี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการแพ้อย่างไม่คาดคิดในคนที่ไม่รู้ตัวว่าแพ้ยางธรรมชาติได้ โรงพยาบาลที่เปลี่ยนไปยังถุงมือยางสังเคราะห์ทั้งหมดเลือกที่จะนำเสนอสภาพแวดล้อมโรงพยาบาลที่ปลอดภัยขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวช่วยโรงพยาบาลลดการสูญเสียเวลาและประสิทธิภาพของพนักงาน และลดต้นทุนในการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยหรือบุคลากรที่อาจเกิดอาการแพ้ขึ้นมา

  • มีการคาดการณ์ว่า บุคลากรด้านการดูแลสุขภาพอาจต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนี้ แต่ประโยชน์ของการป้องกันการแพ้ยางธรรมชาติเบื้องต้นมีน้ำหนักมากกว่า ระดับการแพ้ยางธรรมชาติสำหรับเด็ก ๆ ที่เป็นโรคสไปนาไบฟิดาตั้งแต่เกิดลดลงจากร้อยละ 55 ในผู้ป่วยที่มีการใช้ยางธรรมชาติเหลือเพียงร้อยละ 5 สำหรับผู้ป่วยที่มีการใช้ถุงมือยางสังเคราะห์เท่านั้น (4)
  • อาการแพ้ยางธรรมชาติเป็นต้นเหตุของอาการแพ้ที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดทั้งหมดในฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. 1999 ถึงร้อยละ 17 หลังจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ 2 ครั้ง ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นเหตุที่ถึงแก่ชีวิต และมีการเปลี่ยนมาใช้ยางสังเคราะห์ใน ค.ศ. 2002 แล้ว ก็ไม่มีบันทึกโรคแอนาฟิแล็กซิสจากยางธรรมชาติเลยในรอบ 5 ปี แม้จะมีการผ่าตัดไปมากกว่า 25,000 ครั้งก็ตาม (1)
  • Mayo Clinic องค์กรทางการแพทย์ชื่อดังของสหรัฐอเมริการายงานว่า กรณีการแพ้ยางธรรมชาติในบุคลากรด้านการดูแลสุขภาพลดลงจาก 150 รายต่อ 100,000 ราย เหลือเพียง 27 รายต่อ 100,000 ราย หลังจากที่มีการนำถุงมือยางสังเคราะห์มาใช้ใน ค.ศ. 1993 (5)
  • ระดับอิมมูโนโกลบุลิน (IgE) ที่เฉพาะเจาะจงกับยางธรรมชาติลดลงในผู้ที่แพ้ร้อยละ 88 เมื่อหันไปใช้วัสดุจากยางสังเคราะห์ (6)
  • การดำเนินโรคของภูมิแพ้ยางธรรมชาติส่งผลกระทบรุนแรงต่อคุณภาพชีวิตของคนที่เป็นได้ (7)
  • การเป็นภูมิแพ้ยางธรรมชาติอาจทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนอาชีพ ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่มีนัยสำคัญของบุคลากรด้านการดูแลสุขภาพที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวเลยทีเดียว (8)

อ้างอิง
1. De Queiroz M, Combet S, Berard J, Pouyau A, Genest H, Mouriquand P, Chassard D. Latex allergy in children: modalities and prevention. Paediatric Anaesthesia 2009; 19: 313-319
2. Brehler R and Kütting B. Natural rubber latex allergy.Archives of Internal Medicine 2001; 161: 1057-1064
3. Capelli, Chloé Eviction Du Latex En Chirurgie Pediatrique: Etude de Faisabilite Au CHU de Grenoble. MS thesis. Universite Joseph Fourrier. Faculte De Pharmacie De Grenoble. France. 2011. Print
4. .Blumchen et al., Effects Of Latex Avoidance On Latex Sensitization, Atopy And Allergic Diseases In Patients With Spina Bifida. Allergy 65 (2010): 1585-159
5. Hunt LW, Kelkar P and Reed CE. "Management of Occupational Allergy to Natural Rubber Latex in a Medical Center: The Importance of Quantitative Latex Allergen Measurement and Objective Follow-up." Journal of Allergy and Clinical Immunology 110 suppl 2 (2002): S96 - S106
6. Hamilton R, Brown R. 2000. Impact of personal avoidance practices on health care workers sensitized to natural rubber latex. The Journal of Allergy and Clinical Immunology. 839-841.
7.Lewis, V.J, Chowdhury MMU, Statham, BM. Natural rubber latex allergy: the impact on lifestyle and quality of life. Contact Dermatitis (2004); vol 51 (issue 5-6): 317–318.
8. Al-Otaibi S, Tarlo SM, House R. Quality of life in patients with latex allergy. Occup Med (Lond) 2005;55:88–92.


ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ

เข้าร่วมการสนทนา