เลือกประเทศ / ภูมิภาคของคุณ

คำอธิบายอาการแพ้

ตอนนี้ยังไม่มีการรักษาสำหรับอาการแพ้ยางธรรมชาติประเภท 1 ในขณะที่การเปลี่ยนไปเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่ใช้ยางธรรมชาติเป็นความคิดที่ดี เพื่อกำจัดความเสี่ยงของการตอบสนองอันไม่พึงประสงค์ และเพื่อลดอาการแพ้นั้น ก็มีรายงานว่าจำนวนบุคลากรด้านการดูแลสุขภาพที่เกิดอาการแพ้สารเคมีประเภท 4 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากการเปลี่ยนแปลง การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างสาเหตุและอาการของการแพ้ยางธรรมชาติและสารเคมีจึงสำคัญ เพื่อให้คุณตัดสินใจได้อย่างถูกต้องสำหรับตัวคุณเองและโรงพยาบาล

โดยทั่วไป อาการแพ้ คือ ความไวที่เพิ่มขึ้นต่อสารแปลกปลอม (เรียกว่า สารก่อภูมิแพ้) ซึ่งทำให้ระบบการป้องกันของร่างกาย (ระบบภูมิคุ้มกัน) ตอบสนองมากเกินไปเพื่อปกป้องตัวเอง ตามปกติแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันควรมีปฏิกิริยากับสารอันตรายเท่านั้น เช่น แบคทีเรียที่โจมตีร่างกาย สำหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้ ระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขาจะทำงานล่วงเวลา และมีปฏิกิริยาแม้แต่ตอนที่ไม่พบสารอันตราย ตัวอย่างเช่น สารเคมีในถุงมือ เป็นต้น ความรุนแรงของปฏิกิริยาภูมิแพ้อาจแตกต่างกันไป ตั้งแต่แค่รู้สึกไม่สบายตัวเล็กน้อย ไปจนถึงสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อชีวิต เช่น อาการตอบสนองต่อการแพ้อย่างรุนแรง

ปฏิกิริยาต่อสารก่อภูมิแพ้อาจแสดงเป็นเพียงการระคายเคืองหรืออาการแพ้ขึ้นมา


อาการแพ้ยางธรรมชาติประเภท 1: การตอบสนองฉับพลัน

การตอบสนองต่อยางธรรมชาติประเภท 1 เป็นปฏิกิริยาต่อโปรตีนตกค้างที่พบในยางธรรมชาติ ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นฉับพลัน โดยทั่วไปเกิดขึ้น 5-30 นาทีหลังจากสัมผัสครั้งแรก

อาการมีความรุนแรงต่างกันไป ตั้งแต่แค่รู้สึกไม่สบายตัวเล็กน้อยไปจนถึงการตอบสนองที่รุนแรงถึงชีวิต

  • น้อย: อาการบวมและเป็นผื่นแดง มักเป็นเฉพาะบริเวณที่สัมผัสยาง รวมถึงอาการที่ไม่เจาะจง เช่น คันและรู้สึกแสบร้อน
  • ปานกลาง: เยื่อบุตาอักเสบ เยื่อจมูกอักเสบ หลอดลมอุดตัน
  • รุนแรง: ในกรณีที่พบได้ไม่บ่อย อาจเกิดอาการแอนาฟิแล็กซิสได้

การรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เปลี่ยนเป็นสภาพแวดล้อมที่ปราศจากยางธรรมชาติ และหันไปใช้ถุงมือยางสังเคราะห์เท่านั้น

อาการแพ้สารเคมีประเภท 4: โรคผื่นแพ้สัมผัสหรืออาการแพ้ที่ใช้ระยะเวลานานในการเกิดขึ้น

อาการแพ้สารเคมีประเภท 4 เป็นปฏิกิริยาต่อสารก่อภูมิแพ้บางอย่าง เช่น สารเคมีตกค้างจากกระบวนการผลิตถุงมือ (โดยทั่วไปเรียกว่า สารเร่งปฏิกิริยาเคมี) ปฏิกิริยาเกี่ยวกับผิวหนังของบุคลากรด้านการดูแลสุขภาพร้อยละ 49 เป็นอาการแพ้หรือความไวต่อสารเคมี (1,2,3) และเป็นความบกพร่องอันเกิดการทำงานสูงสุดเป็นอันดับสองที่มีการรายงานถึง OSHA เลยทีเดียว การตอบสนองนี้ค่อนข้างล่าช้าไม่ฉับพลัน มักเกิดขึ้น 6-48 ชั่วโมงหลังจากการสัมผัสครั้งแรก แม้ว่าอาการจะคงอยู่นานสูงสุดถึง 4 วัน

อาการมีความรุนแรงแตกต่างกันไป ตั้งแต่รู้สึกไม่สบายตัวเล็กน้อยไปจนถึงปฏิกิริยาทางผิวหนังที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของบุคลากรด้านการดูแลสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญ

●    ผื่นแดง
●    อาการบวม
●    ผิวหนังแตก
●    อาการคัน
●    น้ำเหลืองเยิ้ม
●    ผิวแห้งเฉพาะที่ (อาการผิวหนังอักเสบอาจขยายไปนอกบริเวณที่สัมผัส)
●    ผื่นคันประกอบกับผิวเป็นขุย แดง และพุพอง

ลดความเสี่ยงอาการแพ้โดยเปลี่ยนไปใช้ถุงมือปราศจากสารเร่งปฏิกิริยา 100%

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ

อ้างอิง
1‌. Geier J, Lessmann H, Mahler V, Pohrt U, Uter W and Schnuch A. Occupational contact allergy caused by rubber gloves – nothing has changed. Contact Dermatitis, 67, 149–156
2. Cao L., Taylor J, Sood A, Murray D, Siegel P. Allergic Contact Dermatitis to Synthetic Rubber Gloves. Changing Trends in Patch Test Reactions to Accelerators. Arch Dermatol, Vol. 146 (NO.9), 2010.
3. Ponten A, Hamnerius N, Bruze M, Hansson C, Persson C, Svedman C, Andersson K and Bergendorff O. Occupational allergic contact dermatitis caused by sterile non-latex protective gloves: clinical investigation and chemical analyses. Contact Dermatitis, 68, 103-110
4. Kiellen MB. 2010. Handeksem av latexfria handskar (Hand eczema from latex-free gloves). Uppdukat. 2:30-31.
5. Rose RF, Lyons P, Horne H, Wilkinson SM. 2009. A review of the materials and allergens in protective gloves. Contact Dermatitis. 61:129-137.
6. Compared to Ansell's general thickness neoprene gloves.
7 - 12. References available upon request


เข้าร่วมการสนทนา