เลือกประเทศ / ภูมิภาคของคุณ

เพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันอาการแพ้

ถุงมือยางสังเคราะห์ทุกชิ้นไม่ได้เหมือนกันเสมอไป เมื่อเลือกถุงมือยางสังเคราะห์ให้ตัวคุณเองและโรงพยาบาล สิ่งสำคัญที่คุณควรทราบคือความแตกต่างของถุงมือยางสังเคราะห์ประเภทต่าง ๆ ที่มีจำหน่าย เพื่อช่วยในการตัดสินใจหาสิ่งที่เหมาะสมกับคุณที่สุดในแง่ของความรู้สึกสัมผัส ความสบายและความกระชับ ช่วยลดอาการแพ้ยางธรรมชาติประเภท 1 และอาการแพ้สารเคมีประเภท 4 รวมถึงอาการแพ้ต่าง ๆ


อาการแพ้ประเภท 1 เกิดจากยางธรรมชาติ ส่วนอาการแพ้ประเภท 4 เกิดจากสารเร่งปฏิกิริยาเคมี แม้จะมีการใช้ถุงมือผ่าตัดยางสังเคราะห์แล้วก็ตาม อาการแพ้ประเภท 4 และอาการแพ้ต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาบนผิวหนังก็ยังเพิ่มจำนวนขึ้น (1,2,3) ซึ่งอาจเกิดจากสารไดฟีนีลกัวนิดีน (DPG) หรือสารเร่งปฏิกิริยาเคมีอื่น ๆ ที่ใช้ในการผลิตถุงมือยางสังเคราะห์บางชนิด ซึ่งเป็นกรณีเดียวกันสำหรับโรงพยาบาลในสวีเดน ซึ่งพยาบาลศัลยกรรมร้อยละ 13 แสดงอาการแพ้สาร DPG หลังจากเปลี่ยนไปใช้ถุงมือยางสังเคราะห์ (4, 5).

ถุงมือยางสังเคราะห์ทั้งหมดช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแพ้ยางธรรมชาติได้ แต่ถุงมือยางสังเคราะห์ทุกชิ้นไม่ได้ป้องกันอาการแพ้สารเคมีประเภท 4 เสมอไป เฉพาะถุงมือยางสังเคราะห์ชนิดปราศจากสารเร่งปฏิกิริยา 100% เท่านั้นที่จะป้องกันทั้งการแพ้ยางธรรมชาติและสารเคมีได้อย่างเพียงพอ



ANSELL เสนอคตอบสำหรับการป้องกันอาการแพ้ที่คุณต้องการ

1. เพื่อการป้องกันระดับสูง ให้ใช้ถุงมือโพลิไอโซพรีน (PI) ไร้สาร DPG 100% ของ Ansell ถุงมือ PI เป็นที่นิยมจากการที่สวมใส่สบายเหมือนยางธรรมชาติ โปรดเลือกใช้ถุงมือ PI ชนิดไร้สาร DPG 100% ของ Ansell เพื่อรับรองการป้องกันสูงสุดที่ไม่ลดทอนประสิทธิภาพการใช้งานใด ๆ
2. เพื่อความสบายใจเต็มที่ ใช้ถุงมือปราศจากสารเร่งปฏิกิริยา 100% ของ Ansell ทีมวิจัยและพัฒนาของเราพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์นีโอพรีนที่ปราศจากสารเร่งปฏิกิริยาทั้งหมดขึ้นมา ด้วยปัจจัยนี้ พร้อมกับความเหนียวและความทนทานที่วางใจได้ ถุงมือรุ่นนี้จึงเป็นที่ต้องการของศัลยแพทย์ที่อยากได้ถุงมือมาดูแลความปลอดภัย แม้ในการผ่าตัดที่สมบุกสมบันที่สุด สูตร SENSOPRENE(TM) กรรมสิทธิ์ของ Ansell ยกระดับความสบายและสัมผัสของถุงมือที่ปราศจากสารเร่งปฏิกิริยาขึ้นไปอีกขั้น โดยมีตัวเลือกถุงมือชนิดบางลง 30% ที่บริเวณนิ้วมือ โดยที่ยังทนทานไม่ต่างจากเดิม(6)


อาการแพ้สารเคมีประเภท 4 อาจนำไปสู่อาการบาดเจ็บจากการทำงานที่มีนัยสำคัญได้ และอาจเป็นภัยต่ออาชีพของบุคลากรด้านการดูแลสุขภาพ

REFERENCES
1. Higgins C, Palmer A, Cahill J, Nixon R. Occupational skin disease among Australian healthcare workers: a retrospective analysis from an occupational dermatology clinic, 1993-2014. Contact Dermatitis. 2016;75(4):213-22
2. Heese A, Hintzenstern JV, Peters K, Koch HU, Hornstein OP. 1991. Allergic and irritant reactions to rubber gloves in medical health services. Journal of the American Academy of Dermatology. 25:831-839.
3. Nixon R. 2005. Occupational dermatoses. Australian Family Physician. 34(5).
4. Uter W, Warburton K, Weisshaar E, Simon D, Ballmer-Weber B, Mahler V, Fuchs T, Geier J, Wilkinson M. Patch test results with rubber series in the European Surveillance System on Contact Allergies (ESSCA) 2013/14 Contact Dermatitis 2016; 75:342-52.


เข้าร่วมการสนทนา