By: E. Turillazzi, P. Greco, M. Neri, C. Pomara, I. Riezo, V. Fineschi
ความเป็นมา
มีบุคคลหลายกลุ่มที่เสี่ยงจะเกิดปฏิกิริยาแพ้ยางธรรมชาติแบบแอนาฟิแล็กซิสระหว่างขั้นตอนการผ่าตัดและการรักษา หนึ่งในกลุ่มนี้คือกลุ่มสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ขั้นตอนทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยามีผลต่อการแพ้ยางธรรมชาติถึง ร้อยละ 50 จากทั้งหมด
ภาพรวม
ผู้เขียนตรวจสอบการแพ้ยางธรรมชาติที่ไม่ได้วินิจฉัยในผู้หญิงอายุ 33 ปี ซึ่งเกิดอาการแอนาฟิแล็กซิสจากยางธรรมชาติระหว่างผ่าคลอด ระหว่างการผ่าตัดในวันหลังการผ่าคลอด เธอเกิดอาการแอนาฟิแล็กซิสจากยางธรรมชาติอีกครั้งซึ่งทำให้หัวใจหยุดเต้น เธอไม่เคยมีประวัติการแพ้ยางธรรมชาติก่อนการผ่าคลอดครั้งที่ 3 และการผ่าตัดต่อเนื่องที่เกิดขึ้นภายหลังนี้ รายงานการเสียชีวิตของเธอ คือ ภาวะช็อกเหตุแอนาฟิแล็กซิสจากยางธรรมชาติ การศึกษานี้ดูปัจจัยทั้งหมดที่สามารถมีส่วนต่อการแพ้ยางธรรมชาติที่ไม่ได้วินิจฉัยนี้ และปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงระดับสูงของการแพ้ยางธรรมชาติในผู้ป่วยกลุ่มสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
ผลลัพธ์
มีปัจจัยมากมายที่ทำให้ผู้ป่วยในกลุ่มสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแอนาฟิแล็กซิสจากยางธรรมชาติ โดยธรรมชาติแล้ว ผู้หญิงมีแนวโน้มแพ้สิ่งที่ผลิตจาก NRL (ยางธรรมชาติ) ในที่ทำงานและชีวิตประจำวัน อีกปัจจัยคือการสัมผัสกับยางธรรมชาติระหว่างการตรวจภายใน และการคลอดทางช่องคลอดผ่านการสัมผัสเยื่อบุช่องคลอด สุดท้ายการฉีดฮอร์โมนออกซิโตซินเพื่อเพิ่มการบีบตัวของมดลูกอาจเป็นสาเหตุให้เศษยางธรรมชาติจากมดลูกหลุดเข้าสู่กระแสเลือดได้
บทสรุป
มีคำแนะนำให้แพทย์ต่าง ๆ ตรวจสอบปัจจัยทางการแพทย์ของผู้ป่วยก่อนที่จะทำหัตถการด้านสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดหลายครั้งและผู้ป่วยที่แพ้ผลไม้ (เช่น เกาลัค มะเดื่อ กล้วย) มีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะแพ้ยางธรรมชาติ ภาวะช็อกที่เกิดจากเหตุแอนาฟิแล็กซิสจากยางธรรมชาตินั้นวินิจฉัยได้ยาก เนื่องจากมีตัวชี้วัดมากมายที่เหมือนกับการบ่งชี้ทางคลินิกอื่น ๆ และเนื่องจากอาการที่แสดงล่าช้าหลังจากเริ่มต้นการผ่าตัดไปแล้ว