การย่อยสลายคือกระบวนการที่วัสดุสลายเป็นชิ้นส่วนที่เล็กกว่าในทางกายภาพ พลาสติกทั้งหมดย่อยสลายได้ แต่มีเพียงบางชนิดที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ (ดูคำถามข้อที่ 2)
การย่อยสลายทางชีวภาพสามารถนิยามได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่อโครงสร้างทางเคมีของวัสดุ ซึ่งเกิดจากการกระทำทางชีวภาพ
เมื่อโพลีเมอร์พลาสติกถูกสลายผ่านกลไกการย่อยสลายรูปแบบต่าง ๆ แล้ว ในที่สุดบางส่วนจะถูกสลายจนมีน้ำหนักโมเลกุลเล็กพอที่จะถูกเชื้อจุลินทรีย์ย่อย แล้วถูกแปลงเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ หรือคาร์บอนไดออกไซด์และมีเทนต่อไป กระบวนการนี้เรียกว่าการย่อยสลายทางชีวภาพ
การย่อยสลายทางชีวภาพมีสองรูปแบบ: กระบวนการแบบใช้ออกซิเจน ซึ่งเกิดขึ้นในสภาวะที่มีออกซิเจนและส่งผลให้ได้กระบวนการที่สมบูรณ์กว่าและสะอาดกว่า และกระบวนการแบบไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งเกิดขึ้นในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจนและส่งผลให้ได้การสลายตัวที่ช้ากว่าและการผลิตมีเทนขึ้น
ก็ไม่เสมอไป ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายทางชีวภาพได้นั้นขึ้นอยู่กับว่าดักจับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพได้ดีเพียงใด ตัวอย่างเช่น มีเทนที่ผลิตขึ้นจากการย่อยสลายทางชีวภาพแบบไม่ใช้ออกซิเจนในหลุมฝังกลบนั้นมีความสามารถในการดักความร้อนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 28 เท่า ดังนั้นหากไม่ดักจับมีเทนไว้ ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน อาจดูเหมือนเป็นสิ่งที่ขัดกับความรู้สึก แต่หากไม่มีการกำจัดและการดักจับของเสียอย่างเหมาะสม บางครั้งผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายทางชีวภาพได้ก็ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ (กล่าวคือ แค่ย่อยสลายได้)
ผลิตภัณฑ์จากไนไตรล์นั้นไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ วัตถุดิบยางไนไตรล์บิวทาไดอีน (NBR) คือโพลีเมอร์ที่มีเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นส่วนประกอบ ซึ่งสามารถย่อยสลายเป็นชิ้นส่วนที่เล็กกว่าได้เมื่อเวลาผ่านไป แต่ไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้เนื่องจากโครงสร้างเชิงโมเลกุลของวัตถุดิบนี้ทำให้ไม่สามารถสลายกลายเป็นส่วน่เล็ก ๆ พอที่เชื้อจุลินทรีย์จะย่อยสลายได้ การย่อยสลายจะเกิดขึ้น แต่พลาสติกชิ้นเล็ก ๆ จะยังคงอยู่ต่อไปเรื่อย ๆ
ผู้ผลิตบางรายอ้างว่าสารเติมแต่งบางอย่างสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์จากไนไตรล์ย่อยสลายทางชีวภาพได้ อย่างไรก็ตาม Ansell ยังไม่พบหลักฐานใด ๆ ว่าสารเติมแต่งเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเชิงโมเลกุลของไนไตรล์และทำให้ไนไตรล์สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้
ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีบางอย่างรวมถึงสารเติมแต่งหรือการปรับสภาพที่มีกรรมสิทธิ์ซึ่งออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้ผลิตภัณฑ์จากไนไตรล์ย่อยสลายทางชีวภาพ แต่ก็ยังคงมีข้อกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ โดยปกติแล้วข้อกังวลเหล่านี้เกี่ยวข้องกับ:
ใช่ ASTM D5511 และ ASTM D5526 คือมาตรฐานที่พบได้บ่อยที่สุดในการประเมินความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์ มาตรฐานนี้กำหนดกรอบการทำงานด้านการทดสอบผลิตภัณฑ์ แต่ไม่ได้ให้การรับรองหรือแผนการบังคับใช้การติดฉลากใด ๆ อย่างไรก็ตาม กฎระเบียบที่เกี่ยวกับ PPE ในตลาดส่วนใหญ่กำหนดให้ผู้ผลิตให้หลักฐานที่เป็นรูปธรรมก่อนที่จะอ้างว่าผลิตภัณฑ์ของตนย่อยสลายทางชีวภาพได้ เช่น ผลการทำสอบที่เป็นบวกตามมาตรฐานสองอย่างนี้ หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าซึ่งได้รับการยอมรับในระดับโลก
เราได้ดำเนินการประเมินวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ของเราอย่างละเอียด และพบว่าวัตถุดิบและระยะการผลิตมีผลต่อคาร์บอนฟุตพรินท์มากที่สุด ซึ่งหมายความว่าการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากระยะเหล่านี้จะทำให้ผลิตภัณฑ์ป้องกันของเรามีความยั่งยืนในภาพรวมมากกว่าเป็นอย่างมาก โดยเราให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตที่ยั่งยืนมากขึ้น และปรับปรุงการหมุนเวียนของผลิตภัณฑ์ของเรา
สำหรับกระบวนการผลิตของเรานั้น เราให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานหมุนเวียนและกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลของเรา และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามที่ระบุในรายงานความยั่งยืนของเรา
ในแง่ของการหมุนเวียนของผลิตภัณฑ์ เรากำลังมองหาวิธีการนำผลิตภัณฑ์ของเรากลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิล เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ยังคงสามารถเป็นประโยชน์แม้หลังจากการกำจัดทิ้งและการสิ้นอายุของผลิตภัณฑ์ หรืออย่างน้อยก็มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลงมาก
นอกจากนี้เราก็กำลังใช้ Ansell Earth เพื่อให้ความสำคัญกับแนวทางที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์จากไนไตรล์ของเรา ซึ่งรวมถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้เหมาะสม ลดของเสีย และใช้โปรแกรมการรีไซเคิล ซึ่งทั้งหมดนี้ออกแบบมาเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันก็รักษาคุณภาพที่สูงและมาตรฐานสมรรถนะของผลิตภัณฑ์อันเป็นสิ่งที่ทำให้ใคร ๆ ก็รู้จัก Ansell ความมุ่งมั่นในความยั่งยืนนี้มีอยู่ในแพลตฟอร์ม Ansell Earth ของเรา ซึ่งเป็นที่ที่เราจะสื่อสารเกี่ยวกับคำรับรองด้านความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ของเรา
ที่มา:
https://echa.europa.eu/en/web/guest/hot-topics/microplastics
https://www.researchgate.net/publication/274432143_Plastic_Degradation_and_Its_Environmental_Implications_with_Special_Reference_to_Polyethylene_ terephthalate
https://www.astm.org/d5511-18.html
https://www.astm.org/d5526-18.html